วันอาทิตย์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

http://issuu.com/teeradon/docs/__________________

การเรียนการสอนสัปดาห์ที่ 7

    วันที่ 5 ตุลาคม 2557 อาจารย์ผู้สอนได้อธิบายถึงการใช้โปรแกรม SketchUp เบื้องต้น เป็นการสาธิตการขึ้นแบบ เพื่อให้เห็นจุดบอดของบรรจุภัณฑ์มากขึ้น มีรายละเอียดดังนี้

วิธีการหมุน
    อาจารย์ผู้สอนได้อธิบายการส่งงาน (Artwork) ในโฟลเดอร์รายบุคคลที่สร้างไว้ใน Google Drive
การสอบกลางภาคในวันที่ 19 ตุลาคม 2557 มีรายละเอียดดังนี้:
1. สอบ SketchUp และขึ้น Artwork ด้วยโปรแกรม Adobe Illustrator
2. ทำแบบทดสอบใน Claroline

การส่งงาน-จัดแสดงงานในวันสอบ มีรายละเอียดดังนี้:
1. กล่องบรรจุภัณฑ์แบบสมบูรณ์
    - ควรทำการตัดสร้าง mock up ก่อนพิมพ์จริง เพื่อตรวจสอบความผิดพลาดของการพับกล่อง
    - ลิ้นกล่องส่วนใหญ่จะมีขนาด 2 ซม.
2. อัพโหลดไฟล์ Artwork (Ai) ลง Google Drive:
    - แยก layer สำหรับเส้นตัดพับ (Die-cut)
    - เมื่อจัดพิมพ์เป็นไฟล์ภาพ (JPEG) ต้องตั้งค่า Resolution เป็น 300 dpi เพื่อความคมชัด
    - ใส่/ระบุชื่อผู้ทำและควรมีรูปประกอบการทำงานจริง

การเรียนการสอนสัปดาห์ที่ 6

    วันที่ 28 กันยายน 2557 อาจารย์ผู้สอนได้อธิบายเกี่ยวกับการนำเสนอผลงานในรูปแบบงานกลุ่ม โดยได้ยกตัวอย่างบล็อคกลุ่ม Dimension ที่สร้างให้กับผู้ประกอบการ "กลุ่มแม่บ้านท่าทราย"http://baanthasai.blogspot.com/ มีข้อเสนอแนะดังนี้
    1. ใส่คำอธิบายใต้ชื่อบล็อค "โครงการออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์เพื่อวิสาหกิจชุมชนจังหวัดชัยนาท โดยกลุ่ม Dimension"
    2. การใส่ผลงานของแต่ละคน สามารถแยกได้โดยการสร้าง Tab ส่วนตัวของผลิตภัณฑ์แต่ละชนิดได้
    3. ควรใส่ข้อมูลผู้ประกอบการให้ครบถ้วน
    4. ส่งคำเชิญให้อาจารย์เป็นผู้เขียนร่วม (admin)

    ภาพที่ 1 ภาพแสดงหน้าเว็บบล็อคที่สร้างเพื่อกลุ่มแม่บ้านท่าทราย
    ที่มา: ธีรดนย์ นุญาสิทธิ์, 2557.

    อาจารย์ผู้สอนได้แนะนำเว็บไซต์ที่ช่วยเสริมทักษะในด้านการออกแบบบรรจุภัณฑ์ ดังนี้

1. Packmage 

    http://www.packmage.com/
    เว็บไซต์ที่รวบรวมแบบบรรจุภัณฑ์สำเร็จรูป โดยการใช้งานต้องทำการสมัครสมาชิกก่อน สามารถศึกษาดูแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อนำไปปรับใช้ในการขึ้นแบบบรรจุภัณฑ์ของตนเองได้

    ภาพที่ 2 ภาพแสดงหน้าเว็บ Packmage
    ที่มา: ธีรดนย์ นุญาสิทธิ์, 2557.

2. 3D Warehouse  
    https://3dwarehouse.sketchup.com/
    เว็บไซต์ที่รวบรวมแบบจำลอง/โมเดลมากมายที่สร้างด้วยโปรแกรม SketchUp ผู้เรียนสามารถค้นหาหรือศึกษาดูรูปแบบบรรจุภัณฑ์ที่รุ่นก่อนๆได้ออกแบบไว้ เพื่อเป็นแนวทางในการขึ้นแบบบรรจุภัณฑ์ต่อไป

    ภาพที่ 3 ภาพแสดงหน้าเว็บ 3D Warehouse
    ที่มา: ธีรดนย์ นุญาสิทธิ์, 2557.

    สามารถเข้าถึงได้จากโปรแกรม SketchUp โดยคลิก File > 3D Warehouse > Get Models


    ภาพที่ 4 ภาพแสดงการเข้าถึง 3D Warehouse จากโปรแกรม SketchUp
    ที่มา: ธีรดนย์ นุญาสิทธิ์, 2557.

การเรียนการสอนสัปดาห์ที่ 5

    วันที่ 21 กันยายน 2557 อาจารย์ผู้สอนได้อธิบายเกี่ยวกับการตอบ/วิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็ง อุปสรรค โอกาส (SWOT Analysis) ซึ่งสามารถแบ่งเป็น 2 ประเด็นคือ วิเคราะห์จากภายนอกและภายใน โดยได้อธิบายและยกตัวอย่างดังนี้
1. ภายนอก: โครงสร้างและกราฟิก
    - จุดอ่อน: รูปแบบตัวอักษรที่ใช้ไม่ถูกต้องตามลิขสิทธิ์
    - จุดแข็ง: สินค้าได้รับรางวัล OTOP, เป็นเจ้าเดียวในจังหวัด, ใช้บรรจุภัณฑ์เหมาะสมกับตัวสินค้า, ตราสัญลักษณ์ใช้มานานแล้ว
2. ภายใน:
    - อุปสรรค: ต้นทุนต่ำ, สินค้ายังไม่ได้อย. , คู่แข่งมีบรรจุภัณฑ์ที่ดีกว่า, (สามารถศึกษาได้จากผลิตภัณฑ์คู่แข่ง)
    - โอกาส: ผลิตภัณฑ์มีวางตลาดมานานแล้ว
  ภาพที่ 1 ภาพการวิเคราะห์สินค้าบ้านท่าทรายด้วย SWOT Analysis
    ที่มา: ธีรดนย์ นุญาสิทธิ์, 2557.

การเรียนการสอนสัปดาห์ที่ 4

    วันที่ 14 กันยายน 2557 ได้ฟังเพื่อนแปล-สรุปข่าวจำนวน 3 คน และ present จำนวน 2 กลุ่ม โดยอาจารย์ผู้สอนได้ให้ไปศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับการออกแบบผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์สินค้าประเภทสุขภาพและความงาม โดยแนะนำเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องดังนี้

1. สมุนไพรอภัยภูเบศร  http://www.abhaiherb.com/
    แบรนด์สินค้าประเภทสุขภาพและความงามยี่ห้อหนึ่งที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในกลุ่มวัยรุ่นไทยในปัจจุบัน โดยอาจารย์ผู้สอนให้ศึกษาดูการออกแบบบรรจุภัณฑ์และวิธีการขายหรือจุดขายของแบรนด์นี้


    ภาพที่ 1 ภาพหน้าเว็บสมุนไพรอภัยภูเบศร
    ที่มา: กฤติกา โสภาเธียร, 2557.


    ภาพที่ 2 ภาพตัวอย่างสินค้าบน Facebook ของสมุนไพรอภัยภูเบศร
    ที่มา: ธีดรนย์ นุญาสิทธิ์, 2557.

2. สบู่ต้นกล้า https://www.facebook.com/tongla.natural
    ผลิตภัณฑ์สบู่แบรนด์ต้นกล้า อีกหนึ่งแบรนด์ที่ได้รับความนิยมในกลุ่มลูกค้าที่เป็นแม่บ้าน พ่อบ้าน ที่นิยมซื้อข้าวของเครื่องใช้ในบ้านจากซูเปอร์มาร์เก็ตเป็นหลัก เนื่องจากเป็นแบรนด์ที่ได้คุณภาพและบรรจุภัณฑ์เรียบง่ายและสวยงาม โดยอาจารย์ผู้สอนให้ศึกษาลักษณะการจำหน่ายสินค้าผ่านทาง Facebook ว่าจะต้องทำอย่างไรให้สินค้าดูมีความน่าสนใจ ซึ่งในที่นี้คือการจัดวางและแต่งตัวให้กับสินค้า


    ภาพที่ 3 ภาพหน้า Facebook ของสบู่ต้นกล้า
    ที่มา: ธีดรนย์ นุญาสิทธิ์, 2557.

3. Template Maker http://www.templatemaker.nl/
    เว็บไซต์ที่ช่วยสร้าง template กล่องบรรจุภัณฑ์แบบง่ายและรวดเร็ว เป็นกล่องมาตรฐาน โดยวิธีใช้คือเพียงเรากำหนดหน่วยและความกว้าง ยาว ลึก ให้กับกล่องที่เราต้องการจะนำมาใช้ แล้วจึงสามารถดาวน์โหลดเป็น PDF หรือ SVG ได้ทันที
 
    ภาพที่ 4 ภาพหน้าเว็บ Template Maker
    ที่มา: ธีดรนย์ นุญาสิทธิ์, 2557.

การบ้าน:
1. สรุปแบบ SWOT Analysis (การวิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็ง โอกาส และอุปสรรค) ตามแบบที่อาจารย์ได้แชร์ไว้ให้ในโฟลเดอร์งานกลุ่ม
2. ออกแบบกล่องบรรจุภัณฑ์สำหรับสินค้าของแต่ละคน โดยนำ template จากเว็บ มาดัดแปลง อย่างน้อยคนละ 2 แบบ ใส่ภาพประกอบและข้อมูลให้เรียบร้อย (พิมพ์และตัดทำเป็นกล่องสมบูรณ์ที่ตัดใส่ได้จริง)
3. Sketch Design (แบบร่างมือ) ของบรรจุภัณฑ์ ใส่ข้อมูล-ขนาดลงไปในแบบด้วย
4. นำสินค้าคู่แข่งมาเปรียบเทียบ โดยเลือกสินค้าที่เป็นแบรนด์ดังและประเภทเดียวกับสินค้าของเรา

    ชิ้นงานทั้งหมดที่ออกแบบด้วยตนเอง (ชิ้นงานเดี่ยว) ให้ใส่ลงใน โฟลเดอร์ Artwork ส่วนตัว โดยรวมถึง Font ที่ใช้ด้วย

การเรียนการสอนสัปดาห์ที่ 3

    วันที่ 10 กันยายน 2557 ได้ฟังเพื่อนนำเสนอ-สรุปข่าวสาร 3 คน โดยอาจารย์ผู้สอนได้วิเคราะห์ข่าวของแต่ละคนเช่นเคย เพื่อเพิ่มความชัดเจนให้กับประเด็นของแต่ละข่าวมากขึ้น
    วันนี้แต่ละกลุ่มได้นำเสนอ ส. 1 สืบค้น (Research) ที่ได้ทำการศึกษาค้นคว้าสินค้าของแต่ละอำเภอ โดยใช้ Mood Board เป็นสื่อประกอบในการนำเสนอ ซึ่งอาจารย์ผู้สอนได้ให้คำแนะนำแต่ละกลุ่มตามปัญหาของสินค้าที่แตกต่างกันไป เนื่องจากยังมีจุดบกพร่องในการศึกษาหาข้อมูลและคิดวิเคราะห์ โดยเนื้อหามีดังนี้

    1. ทำความเข้าใจในการทำ Mood Board ใหม่ 
        Mood Board คือ ตัวช่วยทำให้เกิดความเข้าใจได้รวดเร็วที่สุด เป็นการรวบรวมข้อมูลที่สรุปแล้ว รูปภาพที่ใช้ควรถ่ายให้สวยงามและแสดงการวิเคราะห์ส่วนประกอบต่างๆ ของผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ (Product & Package Visual Analysis) ให้ชัดเจน

    2. ข้อมูลที่ควรศึกษาเพิ่มเติม
        ในการศึกษาข้อมูลของสินค้าต้องมีการทดลองสินค้า ลงพื้นที่ และติดต่อสอบถามข้อเท็จจริงจากผู้ประกอบการโดยตรง เพื่อให้การพัฒนาบรรจุภัณฑ์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ในการนำเสนอ ส. 1 สัปดาห์นี้ข้อมูลเกี่ยวกับตัวสินค้าและผู้ประกอบการยังไม่เพียงพอ แนะนำให้ลงพื้นที่และเข้าหาผู้ประกอบการโดยตรง เพื่อศึกษาปัญหาและความต้องการของผู้ประกอบการในการออกแบบกราฟิกบนบรรจุภัณฑ์ที่เลือกมาพัฒนา

    3. วิเคราะห์จุดอ่อน-จุดแข็ง (Swot Analysis) 

        ผลวิเคราะห์ได้จากการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการตามแบบสรุปผลการสัมภาษณ์และข้อมูลการออกแบบเบื้องต้นที่อาจารย์ผู้สอนได้แชร์ให้ใน Google Drive โดยเป็นการวิเคราะห์ร่วมกันระหว่างผู้บันทึกและผู้ประกอบการ เพื่อให้เกิด Idea Concept และความเข้าใจไปในทางเดียวกัน และเพื่อผลิตผลงานการออกแบบพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่สนองต่อความต้องการของทางผู้ประกอบการอย่างแท้จริง

ข้อเสนอแนะจากอาจารย์ผู้สอนของ กลุ่ม 1 Dimension (ท่าทราย) มีดังนี้

    1. ปัญหาหลักของสินค้า "ท่าทราย" คือ ภาพประกอบ/กราฟิก ซึ่งในปัจจุบันยังไม่มี ซึ่งเราสามารถนำคำขวัญจังหวัด

    2. พัฒนารูปแบบ: พัฒนาจากบรรจุภัณฑ์ที่มีอยู่ เนื่องจากใน Stock มีบรรจุภัณฑ์เดิมเหลืออยู่จำนวนมาก คิดหาวิธีต่างๆ เพื่อซ่อนภาพลักษณ์ของบรรจุภัณฑ์เดิม เช่น การนำสติกเกอร์มาแปะทับ เพื่อเป็นการลดต้นทุนในการผลิตเพิ่ม

    3. ศึกษาดูการจัดตะกร้า/กระเช้าของสินค้าท่าทราย เพื่ออกแบบพัฒนากล่องสำหรับใส่ผลิตภัณฑ์หรืออาจจะจัดสินค้าเป็น Set

    4. ศึกษาการพิมพ์สติกเกอร์แต่ละชนิดที่สามารถนำมาใช้กับตัวบรรจุภัณฑ์ได้ อาจเป็นสติกเกอร์คุณภาพสูง เพื่อไม่เป็นการหลุดลอกได้ง่าย เนื่องจากเป็นสินค้าที่ต้องสัมผัสกับน้ำ

    5. Logo มีส่วนประกอบสำคัญอยู่ 2 อย่างคือ Figure & Ground คือ รูปร่าง/ลวดลายและพื้นหลัง เนื่องจากทางกลุ่มแม่บ้านท่าทรายไม่ต้องการเปลี่ยนโลโก้ เราควรเพิ่มความน่าสนใจให้กับโลโก้ เช่น การพิมพ์ลวดลายเป็นปั้มเงิน/ทอง หรืออาจใส่พื้นหลังสีเรียบๆ เพื่อให้เกิดความแตกต่าง แต่ไม่ได้ดัดแปลงส่วนเดิมที่ใช้อยู่

    6. ข้อมูลที่ต้องสอบถามเพิ่มเติมจากทางผู้ประกอบการ:
        - ปริมาณของบรรจุภัณฑ์ที่เหลืออยู่ใน Stock
        - ไฟล์ต้นฉบับของโลโก้ หากไม่มีให้ดราฟขึ้นมาใหม่
        (อาจจะทำให้เส้นเท่ากันเพื่อง่ายต่อการพิมพ์)
        - ไฟล์ภาพประกอบ (ถ้ามี) หากไม่มีให้ทำการถ่ายภาพและ Retouch
        หรือใช้ลวดลายกราฟิกได้

    7. สามารถขึ้นแบบ SketchUp/3D ของบรรจุภัณฑ์ได้เลย

การบ้าน

    1. ทำรายงานสรุปผลการสืบค้นข้อมูล ส. 1 ตามรายละเอียดใบงานในhttp://clarolinethai.info/


    ภาพที่ 1-2 ภาพขั้นตอนในการเข้าอ่านแบบฝึกหัด: ใบงานใน Clarolinethai,info
    ที่มา: ธีรดนย์ นุญาสิทธิ์, 2557.
         หมายเลข 1 เมื่อทำการเข้าระบบเรียบร้อย คลิก "แบบฝึกหัด: ใบงาน"
         หมายเลข 2 คลิกชื่อรายการ "สรุปผลการสืบค้นข้อมูล ส. 1"
         หมายเลข 3 รายละเอียดการส่งงาน
         หมายเลข 4 รายละเอียดหัวข้อรายงาน

    2. อภิปรายตามหัวข้อกระทู้ที่อาจารย์ได้ตั้งไว้ใน http://clarolinethai.info/




    ภาพที่ 3-5 ภาพขั้นตอนการเข้าอ่านโจทก์การอภิปรายใน Clarolinethai.info
    ที่มา: ธีรดนย์ นุญาสิทธิ์, 2557.
         หมายเลข 1 เมื่อทำการเข้าระบบเรียบร้อย คลิก "การอภิปรายในวิชา"
         หมายเลข 2 คลิกเลือกกลุ่มเรียน "กลุ่ม 201"
         หมายเลข 3 คลิกเลือกกระทู้ "จงอภิปรายสรุปผลการเรียนรู้ในกิจกรรม"
         หมายเลข 4 รายละเอียดประเด็นที่ต้องอภิปราย

    3. Design Sketch (Comprehensive) สเก็ตแบบมีความเข้าใจ

การเรียนการสอนสัปดาห์ที่ 2

    วันที่ 31 สิงหาคม 2557 ได้ฟังเพื่อนนำเสนอข่าว 3 คน โดยอาจารย์ผู้สอนได้วิเคราะห์ข่าวของแต่ละคน เพื่อให้ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการออกแบบบรรจุภัณฑ์กับนักศึกษาคนอื่นๆ ในชั้นเรียน
    อาจารย์ผู้สอนได้ทำการแชร์โฟลเดอร์สำหรับการส่งงาน-การบ้านใน Google Drive ให้กับนักศึกษาทุกคนเรียบร้อยแล้ว


    ภาพที่ 1 ภาพโฟลเดอร์สำหรับการส่งงานที่อาจารย์ได้แชร์ให้กลุ่ม 201
    ที่มา: ธีรดนย์ นุญาสิทธิ์, 2557.

    การบ้านที่ต้องส่งสัปดาห์หน้า คือ การนำเสนอ ส. 1 ให้แต่ละกลุ่มศึกษาผลิตภัณฑ์ตามที่อาจารย์ได้กำหนดโจทย์มาให้ คือ ผลิตภัณฑ์ประเภทสุขภาพและความงามของจังหวัดชัยนาท ให้สมาชิกแต่ละกลุ่มเลือกผลิตภัณฑ์ที่ต้องการนำมาพัฒนาคนละ 1 ชิ้น โดยแต่ละคนในกลุ่มเลือกผลิตภัณฑ์ไม่ซ้ำกัน
    อาจารย์ได้อธิบายการศึกษาค้นคว้าข้อมูลในการนำเสนอ ส. 1 มีรายละเอียดดังนี้
    การทำ Visual Study:
        1. ระบุข้อมูลรายละเอียดของตัวสินค้าอย่างชัดเจน เช่น ส่วนไหนใช้ฟอนต์อะไร มีขนาดเท่าไร ใช้วัสดุอะไรในการผลิต
        2. การถ่ายภาพผลิตภัณฑ์ควรถ่ายให้ครบทุกด้าน เก็บทุกรายละเอียด วัดขนาดของทุกๆ ส่วน เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ครบถ้วนในการพัฒนาปรับใช้แบบต่อไป
        3. ถ่ายรูปเป็นหลักฐานเพื่อแสดงการศึกษาจริง หากมีการลงพื้นที่ ควรถ่ายภาพบรรยากาศมาด้วย
        4. การเข้าหาผู้ประกอบการควรมีการนำผลงานที่ออกแบบไปนำเสนอและเปรียบเทียบกับบรรจุภัณฑ์เดิมที่ใช้อยู่
        5. ถ่ายภาพสินค้าให้สวยงาม โดยใช้เทคนิคการถ่ายภาพที่เคยเรียนมา
    การจัดทำ Mood Board นำเสนอ ส. 1
        - จัดทำขนาด A3
        - ใน Mood Board ประกอบด้วยภาพ/ข้อมูลผู้ประกอบและปัญหาของตัวผลิตภัณฑ์ที่เลือกมาพัฒนา

    นอกจากนี้อาจารย์ผู้สอนยังได้แนะนำเว็บไซต์ที่เปิดโอกาสในการนำเสนอผลงานทางด้านออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้กับตัวนักศึกษาเอง โดยเมื่อส่งผลงานหรือ project เข้าไปแล้วทางเว็บจะทำการพิจารณา หากผ่านการพิจารณาเรียบร้อยแล้ว ผลงานหรือโปรเจคของเราก็จะได้ลงประกาศในเว็บนี้ด้วย https://thedieline.submittable.com/submit


    ภาพที่ 2 ภาพหน้าเว็บ The Dieline Submission Manager
    ที่มา: ธีรดนย์ นุญาสิทธิ์, 2557.

    ท้ายคาบเป็นการทำแบบทดสอบ pre-test ของวิชาการออกแบบกราฟิกบนบรรจุภัณฑ์ที่ http://clarolinethai.info/


    ภาพที่ 3 ภาพหน้าเว็บ Claroline E-Learning Thai Edition
    ที่มา: ธีรดนย์ นุญาสิทธิ์, 2557.

ความรู้ใหม่ที่ได้ในสัปดาห์นี้:

    - Sustainable: การออกแบบอย่างยั่งยืน เป็นการออกแบบที่ส่งผลกระทบต่อโลกน้อยที่สุด โดยการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์มากที่สุด เช่น การผลิตบรรจุภัณฑ์ที่ทำจากวัสดุ recycle ซึ่งเทรนด์นี้เป็นที่นิยมมากในการออกแบบบรรจุภัณฑ์ในปัจจุบัน
    - Vegetable Art: การสร้างสรรค์งานศิลปะโดยการนำผัก/ผลไม้มาจัดวางให้เกิดเป็นรูปร่างต่างๆ เป็นอีกหนึ่งเทรนด์ที่ถูกนำมาใช้ในการออกแบบบรรจุภัณฑ์ เพื่อสร้างความสดใสและสื่อถึงตัวผลิตภัณฑ์ได้ดี

บันทึกเพิ่มเติม:
    - แนะนำให้ไปศึกษาดูงาน "มหกรรมสมุนไพรแห่งชาติ" ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 3- 7 กันยายน 2557
ณ อาคาร 6-8 ศูนย์การประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี